ติดต่อเรา
อัลบัมภาพ
ช่องแห่งการเรียนรู้
หน้าแรก
วันที่ 29-31 พฤษภาคม 2567 เครือข่ายห้องปฏิบัติการสาธารณสุขระดับภูมิภาค (Regional Public Health Laboratory Network) หรือ RPHL Network ร่วมกับเครือข่ายการจัดการศึกษาอบรมด้านระบาดวิทยาอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Field Epidemiology Training Network: ASEAN+3 FETN) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ “RPHL Network – FETN Joint Workshop on Genomic Epidemiology” ร่วมกับ กรมควบคุมโรค สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และกองความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เวลา 08.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปีการสาธารณสุข และห้องปฏิบัติการอาคาร 9 และ 10 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 กองแผนงานและวิชาการ จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการและผู้เกี่ยวข้องในการจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ครั้งที่ 4/2567 เวลา 09.30-14.30 น. ผ่านระบบ Zoom ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปีการสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2567 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาสมรรถนะห้องปฏิบัติการเครือข่ายและระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2567 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาสมรรถนะห้องปฏิบัติการเครือข่ายและระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดอบรมเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับ “การดำเนินการให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” พ.ศ.2562 เวลา 13.30-16.30 น. ผ่านระบบ Zoom
ข่าวเผยแพร่สื่อมวลชน
กรมวิทย์ฯ โชว์นวัตกรรมลีโอแทรปทางเลือกใหม่ในการกำจัดยุง

 

 

               กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยแมลงและสัตว์หลายชนิดสามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อม และดื้อต่อสารเคมี ก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการควบคุมและป้องกันโรคจากแมลงและสัตว์ พร้อมโชว์นวัตกรรม "กับดักไข่ยุงลีโอแทรป"(Leo-Trap)ล่อให้ยุงเข้ามาวางไข่เพื่อกำจัดลูกน้ำตัดวงจรชีวิตยุงลายพาหะโรคไข้เลือดออกและไข้ซิก้า

                นพ.อภิชัย  มงคล  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์อื่นที่เป็นปัญหาสาธารณสุข โดยอาศัยองค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัย" ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท จ.ชลบุรี ว่า ชีววิทยาของแมลงและสัตว์แต่ละชนิดจะปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  และสิ่งมีชีวิตหลายชนิดยังสามารถปรับตัวจนเกิดการดื้อต่อสารเคมีได้อีกด้วย ซึ่งมีสัตว์และแมลงบางชนิดเป็นปัญหาทางสาธารณสุข ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น ไข้เลือดออก ไข้ซิก้า ไข้มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบ ลิชมาเนียและโรคภูมิแพ้ต่างๆ เป็นต้น ประกอบกับ   สภาพภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีลักษณะอากาศและอุณหภูมิที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแมลงเป็นอย่างดี จึงมักประสบปัญหาสาธารณสุขที่เกิดจากแมลงที่มีอยู่หลายชนิด ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การให้ความรู้แก่ประชาชนจนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันการกำจัดแมลงได้ด้วยตนเอง  ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน  ปรับกลยุทธ์  การกำจัดแมลงที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุข โดยการบูรณาการความรู้ที่เป็นปัจจุบันและเทคนิคที่ทันสมัยใน  การป้องกันและกำจัดแมลงที่สำคัญทางการแพทย์ พร้อมถ่ายทอดความรู้ไปยังชุมชน ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น

                นพ.อภิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อกำจัดแมลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดนักวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนานวัตกรรมกับดักไข่ยุงลีโอแทรป (Leo-Trap) ขึ้น มีหลักการทำงาน คือใช้สารสกัดจากหอยลายที่ยุงชอบ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์สารดึงดูดใส่ไว้เป็นตัวล่อยุงให้บินเข้ามาในกับดัก ซึ่งได้ออกแบบกับดักคล้ายโอ่งสีเขียวและดำ มีฝาให้เกิดร่มเงานำไปทดสอบในสภาพธรรมชาติ จนกระทั่งพบว่ากับดักสีดำที่มีฝาสูง ภายในมีซีโอไล้ท์กำจัดลูกน้ำยุงลาย สามารถดึงดูดยุงเข้ามาติดกับดักและวางไข่มากที่สุด ถ้าใช้กับดัก 1 สัปดาห์จะช่วยกำจัดลูกน้ำยุงได้ประมาณ 500 ตัว   แม่ยุง 1 ตัวจะวางไข่ได้ 300-500 ฟอง จึงสามารถตัดวงจรการเกิดโรคที่นำโดยยุงลายได้ ขณะนี้นวัตกรรม     "กับดักไข่ยุงลีโอแทรป" อยู่ระหว่างยื่นขอจดนวัตกรรมไทยเพื่อนำไปผลิตในระดับอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนสามารถซื้อหามาใช้ได้เอง ลีโอแทรปจีงเป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนในการนำไปใช้กำจัดยุงลายได้ด้วยตนเอง

Page View : 845
เนื้อหาอื่นๆ
ทั้งหมด >>
July 09, 2023 @ 19:35
Apr 09, 2023 @ 19:53
08, 2023 @ 10:00
08, 2023 @ 19:09